ในปัจจุบันการทำธุรกิจผ่านโลกออนไลน์เป็นอะไรที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และแน่นอนว่าในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้านอกจากจะใช้โซเชียลมีเดียแล้ว การมี Email ในการติดต่อธุรกิจกันก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน
ซึ่งหลายธุรกิจอาจจะยังใช้ฟรีอีเมลของ Gmail เช่น sale@gmail.com, staff@gmail.com หรืออาจจะมีการสร้างจากฟรีอีเมลอื่นที่ให้บริการ
แต่แน่นอนเมื่อธุรกิจคุณเริ่มเติบโต ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ เริ่มจากพื้นฐานก็คืออีเมลในการติดต่อนั่นเอง เช่น ถ้าอีเมลของคุณเปลี่ยนเป็น sale@dmit.com , staff@dmit.com ย่อมดูดีและน่าเชื่อถือกว่าแบบฟรีอีเมลแน่นอน
ซึ่งถ้าวันนี้คุณมีความคุ้นเคยกับการใช้ฟรี Gmail อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่ธุรกิจของคุณจะย้ายมาใช้ G Suite เพราะการใช้งานเหมือนเดิม ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเรียนรู้ใหม่ให้เสียเวลา และจริง ๆ แล้วหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า G Suite ไม่ได้มีแค่ Gmail อย่างเดียวเท่านั้น
ภายใต้ account ที่ได้รับนั้นยังมีเครื่องมือมากมายที่พร้อมจะช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เช่น Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms, Google Drawings, Google My Maps, Google Group, Google Photos, Google Sites และยังมีอีกมากมาย
ส่วนในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ปัจจุบัน G Suite มีให้เลือกอยู่ด้วยกัน 3 เวอร์ชั่นด้วยกัน
ซึ่งถ้าวันนี้คุณเป็นเจ้าของโดเมนเนมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยจดมาเพื่อทำเว็บไซต์ก็ตาม หรือจองชื่อไว้ก่อนแล้ว เช่น มีชื่อโดเมน dmit.com โดยชื่อนี้อาจจะไปทำการจดทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการจดโดเมน เช่น Godaddy, Register.com หรือรายอื่น ๆ ยิ่งเป็นการง่ายเพราะคุณเพียงแค่นำข้อมูลโดเมนนั้นๆ มาทำการติดตั้งให้เข้ากับ G Suite เวอร์ชั่นที่คุณต้องการ
เขียนมาซะยาวเลย เราไปดูประโยชน์เพิ่มเติมอีก 16 ข้อกันดีกว่า ว่าทำไมเราควรย้ายจากฟรี Gmail ไปเป็น G Suite กันดีกว่า
1.ความเป็นเจ้าของใน email account
บริษัทควรเป็นเจ้าของในทุก email account ไม่ใช่พนักงาน นั่นหมายความว่า ถ้าวันใดวันนึง พนักงานเกิดลาออก ข้อมูลใน email ทั้งหมดจะยังอยู่ในบริษัท คนที่เป็นผู้ดูแลระบบเพียงแค่เปลี่ยนรหัสผ่าน หรือ ทำการโอนความเป็นเจ้าของ account ไปให้กับคนที่รับหน้าที่แทน
เขาก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด ลองนึกเหตุการณ์ดูว่า ถ้าเกิดว่าเราให้พนักงานใช้ gmail ส่วนตัว แล้วเขาลาออกไปทำงานกับคู่แข่ง ข้อมูลการติดต่อกับลูกค้า และ ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ก็ตามพนักงานคนนั้นไปด้วย ไม่ดีเลยใช่ไหม
2. ความเป็นเจ้าของไฟล์งาน
ไฟล์งาน Google Docs, Sheets, Slides และอื่นๆ ที่พนักงานสร้างภายใต้ G Suite account เจ้าของไฟล์ก็ควรจะเป็นบริษัทไม่ใช่พนักงาน
บริษัทอาจจะออกกฎระเบียบเพิ่มเติมให้ทำการเก็บข้อมูลงานทั้งหมดไว้บน Google Drive ซึ่งถ้าใครมีการทำงานหรือเก็บงานบนเครื่องส่วนตัวก็ควรจะให้ทำการ Backup งานขึ้นไปเก็บไว้บน Google Drive ด้วย ไม่ว่าจะเป็น pdf, word, excel , powerpoint หรือไฟล์งานประเภทอื่นก็สามารถเก็บบน Google Drive ได้
ดังนั้นถ้าวันใดวันนึง พนักงานลาออก ก็จะทำให้ข้อมูลอยู่ภายใต้ความควบคุมของบริษัท ไม่ได้ติดตามพนักงานออกไปด้วย
3. แชร์งานให้กันง่ายมาก
มันเป็นอะไรที่ง่ายมากในการแชร์งานเอกสารต่างๆ ร่วมกันในทีมเมื่อทุกคนใช้ G Suite account เช่น ถ้าคุณอยากแชร์เอกสารข่าวประกาศของบริษัทให้พนักงานทุกคนเปิดเข้ามาอ่านได้อย่างเดียว ก็เพียงแค่เข้าไปใส่ชื่อกลุ่มอีเมลที่ต้องการและกำหนดสิทธิให้สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่กี่คลิ๊ก ก็เสร็จแล้ว
4. สร้างอีเมลแบบกลุ่มเพื่อใช้ส่งไปตามแผนกที่ต้องการได้
ในบางครั้งเราต้องการจะส่งอีเมลหาพนักงานหลายคน การจะมานั่งใส่ อีเมลทีละคนก็เป็นอะไรทีเสียเวลามาก ดังนั้น G Suite จึงมีความสามารถที่จะสร้างอีเมลเป็นกลุ่มตามต้องการได้ ต้วอย่างเช่น จะส่งอีเมลถึงทุกคนในทีม sale ในครั้งแรกก็แค่สร้างอีเมลกลุ่มชื่อ sale@dmit.com และนำรายชื่อพนักงานในแผนก sale มาเข้ากลุ่มนี้ไว้ทั้งหมด
จากนั้นเราก็สามารถส่งอีเมลไปที่ sale@dmit.com ได้เลย แล้วสมาชิกที่อยู่ในกลุ่ม sale ไม่ว่าจะเป็นคนเก่าหรือคนใหม่ที่เราเพิ่มชื่อเข้ามาในกลุ่มก็จะได้รับอีเมลพร้อมกันทุกคน
หรือจะเป็นการใช้ร่วมกับระบบการให้บริการลูกค้า (Customer service system) เช่น Salesforce ก็สามารถผูกรวมใช้ด้วยกันได้ ซึ่งการสร้างอีเมลเป็นกลุ่มนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม บริษัทสามารถสร้างได้ตามความต้องการ
5. สร้างชื่ออีเมลย่อยเพิ่มเติมได้หลากหลาย
ในทุก G Suite account ที่พนักงานได้รับไปนั้นยังมีความสามารถสร้างชื่ออีเมลย่อย(email aliases) ได้หลากหลายเพื่อความง่ายต่อการใช้งานเวลาติดต่อกับลูกค้า ตัวอย่าง เราอาจจะมีอีเมลหลักที่อาจจะเป็นชื่อยาว เช่น SomsriDeeSamer@dmit.com เวลาแจกนามบัตรให้ลูกค้าบางทีลูกค้าก็จำไม่ได้หรืออาจจะทำให้พิมพ์ผิดได้
ซึ่งในกรณีนี้เราก็สามารถสร้าง email aliases ให้สั้นลงได้ด้วย โดยสามารถสร้างได้หลากหลายชื่อ เช่น Somsri@dmit.com , Som@dmit.com, Sri@dmit.com เวลาบอกลูกค้าก็ทำให้ง่ายในการจดจำและติดต่อสื่อสารกัน
6. สามารถใช้ Microsoft Outlook เป็น email client ได้
ในบางบริษัทพนักงานอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ Microsoft Outlook ในการใช้งานอีเมล เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะ Google ได้จัดเตรียม Google Apps Sync for Microsoft Outlook ซึ่งจะช่วยทำการ Sync email, calendar และ contacts ต่าง ๆ จาก G Suite และ Microsoft Outlook ให้เท่ากัน ทำให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างราบลื่น
7. มีพื้นที่เก็บข้อมูลให้แบบไม่จำกัด
โดยพื้นฐานแล้วถ้าใช้ฟรี Gmail จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 15 GB. แต่ถ้าบริษัทเปลี่ยนมาใช้ G Suite จะทำให้แต่ละ account ได้รับพื้นที่เริ่มต้นอย่างน้อย 30 GB. ไปจนถึง Unlimited (ขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นที่เลือกใช้)
ถ้าบริษัทเลือกใช้ G Suite Basic ก็จะได้รับพื้นที่ 30 GB. แต่ถ้าเลือกใช้ G Suite Business เป็นต้นไปจะทำให้พนักงานทุกคนในบริษัทมีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบ Unlimited หรือไม่จำกัดนั้นเอง ซึ่งจะทำให้หมดปัญหาเรื่องพื้นที่เก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคนในบริษัทไปโดยทันทีและในเวอร์ชั่น G Suite Business ยังมีความสามารถที่เพิ่มเติมให้อีกมากมายอีกด้วย
8. เพิ่มความปลอดภัยด้วย 2-Step Verification
ปัจจุบันนี้การมีเพียงรหัสผ่านอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เพราะว่าถ้าใครสามารถล่วงรู้รหัสผ่านเราได้ นั่นก็หมายความว่าเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลเราได้ทั้งหมดนั่นเอง
ดังนั้น Google จึงได้เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน G Suite อีกชั้นหนึ่งที่เรียกกันว่า 2-Step Verification ทำให้ถึงแม้จะมีผู้ไม่หวังดีที่รู้รหัสผ่านของเราแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึง account ได้ เพราะก่อนที่จะเข้าใช้งานนอกจากรหัสผ่านแล้วผู้ใช้งานต้องใส่ข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น เป็นเลขรหัสโค๊ด 6 หลัก ที่ส่งมาให้ทางข้อความทางมือถือ
หรือเราอาจจะเลือกใช้ apps ที่สร้างเลขรหัสนี้โดยทำการติดตั้งที่มือถือก็ได้ ซึ่งรหัสเหล่านี้เราจะเรียกกันว่า one-time password เพราะในแต่ละครั้งเลขรหัสที่ส่งมาจะไม่ซ้ำกัน
แม้ว่าเราจะลืมนำโทรศัพย์มาเราก็ยังสามารถใช้ Backup code ที่เราอาจจะทำการจดบันทึกเก็บไว้เพิ่มเติมเพื่อเข้าถึงได้ และจริง ๆ แล้ว 2-Step Verification ก็ยังมีวิธีการอีกหลายรูปแบบที่ Google มีให้ใช้เพื่อรองรับกับความต้องการและความสะดวกของแต่ละคน
9. ผนวกรวมกับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าได้ (CRM Integration)
ในบางกรณีบริษัทอาจตัดสินใจลงทุนกับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือที่มักจะเรียกกันติดปากว่า ระบบ CRM เพื่อที่จะใช้นำมาช่วยในการติดตามและบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามสถานะลูกค้า ดูรายงาน วิเคราห์ข้อมูลเพื่อทำแผนการตลาดเพื่อครองใจลูกค้าให้ยังคงใช้บริการจากบริษัทเราทั้งการดูแลลูกค้าเก่าและการหาลูกค้าใหม่
ซึ่ง G Suite เองนั้นก็สามารถผนวกรวมกับระบบ CRM ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ระดับโลกได้ไม่ว่าจะเป็น Saleforce หรือ ProsperWorks เพื่อทำการ Synchronize ข้อมูลหากันได้อย่างง่ายดาย
10. ใช้ Single Sign-on (SSO) ร่วมกับ Apps ทางธุรกิจได้มากมาย
ถ้าเรามีการใช้งาน apps ทางด้านธุรกิจหลายตัว เช่น Salesforce, Slack, DocuSign และอื่น ๆ โดยพื้นฐานเราจำเป็นต้องมีชื่อและรหัสผ่านในการเข้าใช้งานในทุก apps ซึ่งในการใช้งานจริงจะเป็นอะไรที่วุ่นวายมากที่ต้องมานั่งกรอก user และ password ในทุก apps ที่มีการเรียกใช้งาน
ดังนั้น G Suite จึงได้เปิดให้ผู้ดูแลระบบของบริษัทสามารถกำหนดค่าให้ใช้งาน Single Sing-on (SSO) ร่วมกับ apps ต่าง ๆ ได้ทำให้เรา Sign in เข้าที่ G Suite เพียงครั้งเดียวจากนั้นเมื่อเราไปใช้ apps อื่น ๆ ก็จะไม่มีการถามชื่อและรหัสผ่านอีกเลย
11. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทในการใช้งาน
ปกติถ้าเราใช้ฟรี Gmail ด้านซ้ายบนของหน้าจอการใช้งานจะเห็นเป็นโลโก้ของ Google ซึ่งดูแล้วไม่ค่อย professional เท่าไหร่ เพราะไม่ได้บ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทเรา ดังนั้นถ้าบริษัทใช้ G Suite โลโก้ที่กล่าวมาสามารถเปลี่ยนไปเป็นของบริษัทได้ตามที่ต้องการ
12. Video Conference จะเป็นเรื่องง่ายด้วย Chrome devices for meetings
ปัจจุบันการทำงานมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ผู้คนสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องมือที่ทำให้การติดต่อสื่อสาร หรือ การประชุมเป็นเรื่องง่าย Google จึงได้ออกแบบอุปกรณ์ที่ชื่อ Chrome devices for meetings ที่สามารถเชื่อมโยงพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าง่ายๆ แค่เพียงคลิ๊ก
บริษัทสามารถทำการติดตั้งอุปกรณ์และผูกเข้ากับ Google Calendar ที่เป็นส่วนหนึ่งของ G Suite ซึ่งทำให้สามารถนัดหมายประชุม Video Conference ได้ง่ายแสนง่าย และสามารถจัดประชุมได้พร้อมกันถึง 25 เซสชั่นด้วยกัน
13. รองรับการบริหารจัดการอุปกรณ์มือถือด้วย Google Mobile Device Management
ทุกวันนี้เราเชื่อว่าหลายบริษัทได้เปิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลขององค์กรให้กับพนักงานผ่านจากอุปกรณ์มือถือส่วนตัวหรืออาจจะเป็นเครื่องที่บริษัทจัดเตรียมให้ในการทำงานต่าง ๆ เช่น เช็ค-รับ-ส่ง อีเมล, เปิดเอกสารการทำงานพร้อมกับแก้ไขได้ ซึ่งแนวทางนี้หลายท่านอาจเคยได้ยินกันในชื่อ Bring your own device (BYOD) ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การทำงานเกิดความคล่องตัว บริษัทก็ลดค่าใช้จ่ายไปด้วยเพราะในหลายที่พนักงานมีความต้องการใช้อุปกรณ์ของตัวเองในการทำงาน
แต่ในทางปฎิบัติเราจะบริหารจัดการอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนอุปกรณ์, การกำหนดค่าพื้นฐานต่าง ๆ เช่น email account, apps ที่บริษัทต้องการให้ใช้งาน แล้วไหนจะเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลถ้าเกิดกรณีมือถือพนักงานหายจะทำอย่างไร
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คำตอบมีอยู่ใน Google Mobile Device Management (Google MDM) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าไปบริหารจัดการได้จากหน้า Admin Console โดยรองรับทั้ง Android, iOS, Blackberry และ Windows Phone ที่สำคัญคือไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพราะมาพร้อมกับ G Suite อยู่แล้ว
ส่วนความสามารถนั้นมีมากมายเหลือล้น ตัวอย่างเช่น
บริหารจัดการอุปกร์มือถือได้จากทุกที่
กำหนดค่าเริ่มต้นพื้นฐานและส่งค่าที่จำเป็น เช่น ค่ากำหนด อีเมล, certificate ที่ใช้ติดต่อกับ server, ค่า Wi-Fi ไปให้กับอุปกรณ์ของพนักงาน
ส่ง apps ที่บริษัทต้องการให้พนักงานใช้ไปติดตั้งได้ทันที
กำหนดการเข้ารหัสข้อมูล
มีหน้ารีพอร์ตให้ผู้ดูแลระบบตรวจสอบสถานะต่างๆ
ในกรณีที่เครื่องสูญหาย สามารถสั่งล็อค, ล้างข้อมูลที่เป็นของบริษัทได้
14. กำหนดค่าการควบคุมและบริหารจัดการ ChromeBooks ได้ง่ายดาย
ChromeBooks เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาแบบใหม่ที่ออกแบบโดย Google ทำงานอยู่บนระบบปฎิบัติการที่เรียกว่า Chrome OS ทำงานได้รวดเร็วจนทำให้คุณลืมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในแบบเดิมไปเลย เพราะเปิดเครื่องพร้อมใช้งานรวดเร็วทันใจ, หมดกังวลเรื่องไวรัส, แบตเตอรี่ทำงานได้ทั้งวัน, พร้อมใช้งานทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องเสียเวลารบกวนฝ่าย IT มาคอยลง apps หรือคอยตามแก้ปัญหาให้ แถมราคาเครื่องก็ไม่แพงอีกด้วย
แต่ข้อดีที่กล่าวมายังไม่หมด เพราะ ChromeBooks ถือเป็นอุปกรณ์ที่เราสามารถผนวกรวมกับ G Suite และทำการควบคุมบริหารจัดการจากส่วนกลางได้ผ่าน Chrome management console ได้ซึ่งอยู่ใน Admin Console ดังนั้นไม่ว่าจะมี ChromeBooks หลัก 10, 100 หรือเป็น 1,000 ก็จัดการได้อย่างง่ายดาย
รองรับการกำหนดค่าได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น User settings, Device settings, Public session settings และในแต่ละกลุ่มก็มีค่ากำหนดย่อยอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
กำหนดติดตั้ง apps ที่ต้องการให้แต่ละแผนกตามการใช้งาน
ควบคุมการเข้าถึงการใช้งาน Apps ที่ไม่อนุญาตให้ใช้งาน
กำหนดว่าใครสามารถ log-in เข้าใช้งาน ChromeBooks ได้บ้าง
เวลาเปิดเครื่องให้ทำการเปิดหน้า webstie ที่ต้องการโดยอัติโนมัติและควบคุมป้องกันการเข้าถึง website ที่ไม่ต้องการ
กำหนดค่า Proxy ในการใช้งาน Internet ในบริษัท
เปิดหรือปิดค่าการเชื่อมต่อ hardware ของตัวเครื่องได้ เช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ USB หรือ Printer
และยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เพราะสามารถกำหนดค่าการควบคุมได้เยอะจริง ๆ
15. ส่ง Apps ให้ผู้ใช้งานผ่าน Chrome Apps Launcher
ในการทำงานแต่ละแผนกย่อมมีความต้องการใช้งาน apps ที่แตกต่างกัน Chrome จึงมี Dashboard ในการรวบรวม apps ของแต่ละคนไว้ให้โดยใช้ชื่อว่า Chrome Apps Launcher ซึ่งในส่วนนี้ผู้ดูแลระบบสามารถส่ง apps ให้ผู้ใช้งานแต่ละแผนกได้ผ่าน Admin Console ที่อยู่ใน G Suite และในทางกลับกันก็สามารถส่งคำสั่งเพื่อลบ apps ที่ไม่ต้องการให้ใช้งานได้เช่นกัน
ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะทำการ log-in เข้าใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องส่วนตัว หรือเครื่องสาธารณะ ผ่าน Chrome browser พนักงานจะยังคงสามารถใช้งาน apps ที่ต้องการได้เหมือนเดิมทำให้การทำงานเกิดความคล่องตัว
16. บริการหลังการขาย
G Suite มี บริการหลังการขายแบบ 24/7 ในกรณีที่พบปัญหาการใช้งาน ผู้ดูแลระบบสามารถติดต่อเพื่อขอรับบริการได้หลายช่องทาง ทั้งในแบบโทรศัพย์, อีเมล และ แชท ซึ่งบริการนี้จะไม่มีใน ฟรี Gmail
หรือหากต้องการซื้อบริการพิเศษที่เข้าใจคนไทยและบริการโดยคนไทย Demeter ICT ก็มี package ในการให้บริการให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า
สรุปแล้วจะเห็นว่าประโยชน์ในการเปลี่ยนมาใช้ G Suite นั้นมีมากมายนานับประการ เพราะ Google ได้ทำการออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเชื่อมโยงและการสื่อสารในการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องง่าย แต่แฝงไปด้วยความสามารถที่ทรงพลัง และให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังจะเห็นว่า Google ได้รับมาตรฐานและใบรับรองระดับโลกมากมาย
ดังนั้นทุกท่านจึงมั่นใจได้ว่าธุรกิจของท่านจะเติบโตได้รวดเร็วและก้าวกระโดดเหนือกว่าคู่แข่ง เมื่อหันมาใช้ G Suite
G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด
พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ